เมนู

พล่าน ข้าวสารในหม้อนั้นก็ร้องกระฉ่อนไหวไปมา ครั้นว่าข้าวสารร้อนทั่วแล้ว อุทกังนั้นก็
เดือดแล้วก็ไหลล้นท้นเป็นฟองฟูมไป ยถา มีครุวนาฉันใด เมื่อสมเด็จพระเวสสันดรให้
ทานนั้นแผ่นดินไหว เดิมลมอันใหญ่ที่พัดต้านน้ำรองแผ่นดินนั้น มิอาจทรงอยู่ได้ด้วยเดชแห่งมหา
ทาน ลมนั้นบันดาลกำเริบพัดอยู่ข้างล่างก่อน อุทกังจึงกระฉ่อนไหวเหมือนหม้อข้าวแรกหุงตั้ง
เหนือเตาไฟนั้น น้ำในหม้อนั้นพล่านไหวก่อนแล้ว เมื่อน้ำรองแผ่นดินนั้นไหวแล้ว แผ่นดินก็ไหว
ดุจข้าวสารในหม้ออันไหวด้วยน้ำร้อนนั้น นี่แลทานของพระเวสสันดรนั้น ยังลมรองน้ำยังน้ำรอง
แผ่นดินและแผ่นดินสิ่งสามประการนี้ให้สะท้านสะเทือนไหว ทานของผู้ใดที่จะให้สิ่งสามประการ
นี้ไหว เปรียบดุจทานสมเด็จพระเวสสันดรนี้ไม่มี มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร
ปานดุจแก้วทั้งหลายมีประการต่าง ๆ ในพื้นแผ่นดินนี้ คืออินทนิลและมหานิลและโชติรส
แก้วไพฑูรย์ แก้วอุมมาระบุปผา แก้วมโนหรา แก้วสุริยกัณฑ์ แก้วจันทกัณฑ์ แก้ววิเชียร
แก้วบุษราคัม แก้วแดง แก้วลาย แก้วทั้งหลายนี้จะมีรัศมีดีขึ้นไปกว่าแก้วมณีของบรมจักร
พรรดิราชหามิได้ ตกว่าแก้วมณีแห่งสมเด็จบรมจักรพรรดิราชนี้มีรัศมีแผ่ไปโดยรอบคอบ
สว่างไปโยชน์หนึ่ง แก้วทั้งหลายจึงไม่ดียิ่งกว่าจักรวรรดิมณี ความนี้จะเปรียบฉันใด ทานคน
ทั้งหลายซึ่งให้นั้นจะได้มีคุณเท่ากันกับทานพระเวสสันดรนี้ไม่มี เปรียบดุจมณีทั้งหลายในพื้น
ปฐพีอันจะดีล่วงไปจากจักรวรรดิรัตนะไม่มีหามิได้ เหตุดังนั้น เมื่อสมเด็จบรมทานาธิบดีศรีเพส-
สันดรบพิตร ทรงพระยาประสาทอำนวยทานนั้น แผ่นดินไหวสิ้นเจ็ดครั้ง บพิตรจงทรงพระสวนา-
การฟังให้เข้าพระทัยในกาลบัดนี้
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีได้ฟังพระนาคเสนวิสัชนาดังนี้ก็สิ้นสงสัย ก็สรรเสริญ
พระนาคเสนโดยนัยวิสัชนามาแต่หนหลังนั้น
มหาภูมิจลนปาตุภาวปัญหา คำรบ 4 จบเท่านี้

สิวิรัญโญจักขุทานปัญหา ที่ 5


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการถามอรรถปัญหาว่า ภนฺเต นาค-
เสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้า ตุมฺเห ภณถ นิมนต์แก้ปัญหานี้ ด้วยคำอันนี้มีพระพุทธ-
ฎีกาตรัสไว้ว่า ทิพจักขุบังเกิดแก่พระยาสีวิราชอันคลักพระเนตรทั้งสองให้เป็นทาน มีตาอันมืด
แล้วกลับได้ทิพจักขุ มีพระเนตรเป็นทิพย์เล่า นี้แหละ โยมพิเคราะห์ดูหาเห็นด้วยไม่ ด้วยพระ

พุทธฎีกาสิว่าไว้ในพระสูตรนั้น ว่าบุคคลมีตาอันมืดหาจักขุวัตถุและจักขุประสาทมิได้ บุคคล
ผู้นั้นจะได้ทิพจักขุหาบ่มิได้ พระพุทธฎีกาทั้งสองนี้ไม่ต้องกัน จะเชื่อคำก่อน คำหลังก็จะผิด จะ
เชื่อคำหลัง คำก่อนก็ผิด ปริศนานี้เป็นอุภโตโกฏิ นิมนต์โปรดวิสัชนาแก้ไขให้โยมสิ้นสงสัยใน
กาลบัดนี้
พระนาคเสนมีเถรวาจาแก้ไขปัญหาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราช-
สมภาร ซึ่งสมเด็จพระโลกุตตมาจารย์มีพุทธฎีกาโปรดประทานพระสัทธรรมเทศนาไว้ ว่า
พระยาสีวิราชควักพระเนตรทั้งสองให้เป็นอัชฌัตติกทาน แก่ยาจกอันมาขอนี้ สมเด็จพระเจ้า
สีวิราชกลับได้ทิพจักขุคืนนั้น พระพุทธฎีกาอันนี้ไม่ผิด มา วิมตึ อุปฺปาเทสิ มหาบพิตรอย่า
ได้ทรงพระวิมติสงสัย
พระเจ้ามิลินท์ปิ่นกษัตริย์ตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้า ทำไมไม่
ให้สงสัยเล่า ก็พระเจ้าสีวิราชคลักพระเนตรเสียแล้ว ทิพจักขุบังเกิดในที่หาวัตถุมิได้ กระนั้นหรือ
พระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนมีเถรวาจาว่า ใช่กระนั้น นะบพิตรพระราชสมภาร
พระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการว่า นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าจงวิสัชนาให้โยม
เข้าใจในกาลบัดนี้
พระนาคเสนมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ
ธรรมดาว่าสัจจาธิษฐานนี้ ถ้าผู้ใดกล่าวสัจวาทีแล้วได้สำเร็จปรารถนา จะมีปรากฏอยู่ใน
โลกบ้างหรือประการใด บพิตรพระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า อาม ภนฺเต เออพระผู้
เป็นเจ้า มนุษย์ที่เขามีความสัจนั้นตั้งสัจจาธิษฐานเป็นอันมั่นแล้ว บรรดาฝนไม่ตกก็อธิษฐานให้
ฝนนั้นตกลงได้ บรรดาเพลิงจะไหม้แล้ว ก็ตั้งสัจจาธิษฐานให้เพลิงดับไป ถึงมาตรว่าต้องพิษจะ
ให้ชีวิตบรรลัย ตั้งอธิษฐานแล้วก็หาพิษมิได้ น้ำที่เคยไหลลงไป ตั้งสัจจาธิษฐานให้น้ำนั้น
ไหลกลับทวนกระแสไปได้ ถ้าผู้ใดตั้งอยู่ในสัจจะแล้วอธิษฐานได้ต่าง ๆ ฉะนี้
พระนาคเสนมีเถรวาจาว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร เหตุนี้มีประการ
ฉันใดเล่า พระเจ้าสีวิราชก็เหมือนกันนั้นแหละบพิตรพระราชสมภาร พระเจ้าสีวิราชควัก
พระเนตรให้เป็นทาน แล้วตั้งสัจจาธิษฐานด้วยเดชานุภาพสัจจาธิษฐานนั้น จักขุประสาทอันเป็น
ทิพย์ก็บังเกิดด้วยอำนาจแห่งพระเจ้าสีวิราชตั้งสัจจาธิษฐาน สัจจะนั่นแหละเป็นวัตถุตั้งให้เกิด

ทิพยจักขุได้ อนึ่ง ขอถวายพระพรบพิตรผู้เป็นมหิศราธิบดี เกจิ สิทฺธา ฤาษีสิทธ์บางจำพวกนั้น
สจฺจมนุคายนฺติ ตั้งสัจจาธิษฐานว่าให้ฝนบันดาลตกลงมา ฝนนั้นก็เป็นท่อธาราตกลงด้วย
อำนาจวาจาสัจนี้ ขอถวายพระพรบพิตรผู้เป็นมหิศราธิบดี ก็ฝนจะตกนี้อาศัยเหตุจึงอาเพศให้
ฝนตกลงมา นี่หาเหตุไม่ฉันใด ฝนจึงตกลงมาเล่า
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นกษัตริย์ตรัสว่า ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ความสัจนี้เล่า
อุดมนักหนาควรจะว่าเป็นเหตุที่จะอาเพศให้ฝนตกลงมา
พระนาคเสนมีเถรวาจาว่า เอวเมว โข มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร
ความเปรียบนี้มีประการฉันใด พระเจ้าสีวิราชได้ทิพจักขุนี้ก็อาศัยมีสัจจะเป็นวัตถุ เปรียบดุจฝน
อันปวัตตนาการตกลงมาด้วยเหตุแห่งสัจจาธิษฐานนั้น อนึ่งเล่า มหาราช ขอถวายพระ
พรบพิตรพระราชสมภารเจ้า เย เกจิ สิทฺธา เหล่าฤๅษีสิทธ์ที่กล่าววาจาสัจนั้น อคฺคิกขนฺโธ
ชลิตปชฺชลิโต
กองเพลิงอันใหญ่หาวิญญาณบ่มิได้ก็กลับดับไปเหมือนวาจา มหาราช ดู
รานะบพิตรพระราชสมภาร หรือว่าน้ำท่าสิ่งใดเป็นวัตถุไปดับห้ามไว้เล่า
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า มามิได้ กองเพลิงอันใหญ่
เป็นไปด้วยสัจจะ มีสัจจะเป็นวัตถุ
พระนาคเสนวิสุทธิสงฆ์องค์อรหันต์ถวายพระพรว่า ความเปรียบนี้ฉันใดก็ดี สัจจะเป็น
วัตถุอันจะเป็นที่อาศัยแห่งทิพจักขุนั้น จักขุก็บันดาลมีขึ้นด้วยอำนาจที่ท้าวเธอตั้งสัจจาธิษฐาน
มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ประการหนึ่งเล่า เย เกจิ สิทฺธา ฤาษีสิทธ์บางเหล่า
ที่เป็นสัจวาที อธิษฐานที่ยาพิษว่าฉะนี้ วิสํ หลาหลํ อปคตํ ภวตุ ว่ายาพิษกินตายนี้จงกลับกลาย
หายไป ในทันใดนั้นพิษก็บรรเทาหายไป นุโข อาตมาขอถาม มหาราช ดูรานะบพิตรพระราช-
สมภาค หรือสันนิจิการยากันอันวิเศษสิ่งไรไว้ จึงบันดาลให้ยาพิษหมดพิษไป
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า หามิได้ ทั้งนี้เป็นไปด้วย
สัจวาที
ขอถวายพระพรบพิตรผู้เป็นมหิศราธิบดี พระเจ้าสีวิราชนี้ ก็ได้ทิพจักขุด้วยสัจจาธิษ-
ฐานเหมือนกัน อนึ่ง ดูกรบพิตรพระราชสมภาร พระโยคาวจรที่ตรัสรู้พระอริยสัจสี่ประการ คือ
ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ สัจจะสี่ประการนี้ จะได้รู้ด้วยพิธีธรรมอันอื่นนั้นหามิได้
อาศัยพิจารณาเห็นเป็นสัจจริงแท้ มิได้ผันแปรกลับกลาย เหมือนหนึ่งว่าสัตว์ทั้งหลายมีแต่เกิด
มาแล้วตาย ตายแล้วเกิด เวียนอยู่ฉะนี้ก็มีอยู่เที่ยงแท้ ท่านผู้วิเศษเห็นแท้ไม่ประมาทลืมตนเลย

เป็นสัจจังจริงฉะนี้ ท่านจึงได้สำเร็จแก่พระจตุราริยสัจ เหตุจิตมิได้กลับกลายอาศัยสัจนี้
มหาราช ดูรานะบพิตรผู้เป็นมหิศราธิบดี เนื้อความนี้พระราชสมภารยังจะได้ทรงพระสวนา
การฟังบ้างหรือประการใด จินวิสเย จินราชา ยังมีสมเด็จบรมกษัตริย์มหาสมมุติวงศ์พระองค์
หนึ่ง ทรงพระนามชื่อว่าจินราช เสด็จสังวาสครอบครองจินประเทศ สมุทฺเท กึฬิตุกาโม มี
น้ำพระทัยปรารถนาจะใคร่เล่นน้ำในมหาสมุทรให้สำราญ จึงกระทำสัจจาธิษฐานอยู่ประมาณ
4 เดือนมิได้เคลื่อนคลายแล้ว สมเด็จพระเจ้าจินราชก็เสด็จพระมหาพิชัยราชรถมณี อัน
เทียมด้วนสินธพพาชีทั้ง 4 สมเด็จพระเจ้าจินราชจอมธรณีขับพาชีไปในท้องมหาสมุทร ไกลสุด
โสดโยชน์หนึ่งโดยประมาณ ด้วยกำลังสัจจาธิษฐานสำราญราชหฤทัย อธิบายว่า ลูกคลื่นอัน
ใหญ่ก็หลีกไปจากงอนรถ จะได้เปียกชุ่มหามิได้ ดุจน้ำในใบบัวบันดาลเป็นไป นุโข ดังอาตมาถาม
ธรรมดามนุษย์ครุฑาสุรยักษ์จักหักเอาด้วยฤทธิ์โดยปรกติ มิอาจจะข้ามได้ มิอาจจะเดินเที่ยวไป
ในมหาสมุทรได้ หรือว่าจะข้ามได้เล่า พระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
นาคเสนผู้ปรีชา มนุษย์ทั้งหลายถ้าจะว่าโดยปรกตินี้ แต่สระอันใหญ่ก็มิอาจเดินหลีกน้ำ ได้จะ
ป่วยกล่าวทำไมถึงที่หลีกน้ำในสมุทรเล่า
พระนาคเสนจึงเล่า นี่แลพระราชสมภารเจ้า พึงเข้าพระทัยเถิด ว่าความสัจนี้ประเสริฐ
นักหนา มหาราช ดูรานะบพิตรผู้เป็นมหิศราธิบดี ดังจะรู้มาว่า สมเด็จพระเจ้าธรรมาโศกราช
มีหมู่อำมาตย์แวดล้อมเป็นบริวาร เสด็จพระราชฐานไปเพื่อจะสรงสนานเล่น ทิสฺวา ได้
ทัศนาการเห็น นวสลีเล ซึ่งน้ำหลากไหลมามากนักหนา โดยยาววัดได้ห้าร้อยโยชน์ โดย
กว้างโยชน์หนึ่ง จึงมีพระราชโองการตรัสว่า ดูรกสูชาวเจ้าทั้งปวง ท่ายยังจะเห็นใครอาจ
สามารถที่จะให้อุทกังอันไหลมานี้ ให้ไหลกลับไปได้
อมจฺจคณา ฝ่ายว่าอำมาตย์ข้าราชการทั้งหลาย จึงกราบทูลว่า เทว ข้าแต่พระองค์ผู้
เป็นสมมุติเทวดาผู้ประเสริฐ การที่จะทำให้น้ำในมหาคงคาไหลกลับไปนั้น ทุกฺกรํ กระทำยากนัก
หนา
ตสฺมึ ขเณ ในขณะนั้นยังมีสตรีแพศยาผู้หนึ่ง นั่งอยู่ที่ฝั่งคงคาได้สวนาการฟังว่า มี
พระราชประสงค์จะให้น้ำในมหาคงคาไหลกลับไป สตรีแพศยานั้นจึงตั้งสัจกิริยาว่าฉะนี้ ว่า
ข้าพเจ้านี้เป็นสตรีแพศยาอยู่ในพระนคร ข้าพเจ้านี้มีชีวิตอยู่ได้ในโลกนี้ เพราะเลี้ยงชีวิตด้วยรูป
นี้เป็นความสัจ ขอให้พระมหากษัตริย์เห็นประจักษ์แก่พระเนตรในครั้งนี้ ขอให้วารีที่ไหลมานี้
จงไหลกลับไปให้เห็นประจักษ์ในครั้งนี้ เมื่อนางนครโสภิณีตั้งสัจจาธิษฐานแล้ว คงคาก็บันดาล
ไหลกลับไปสิ้นด้วยอำนาจสัจวาทีนั้น

อถโข ในลำดับนั้น สมเด็จพระเจ้าธรรมาโศกราชทอดพระเนตรเห็นคงคาไหลกลับไป
ประหลาดพระทัยนักหนา จึงมีพระราชโองการตรัสถามอำมาตย์ว่า ดูกรอำมาตย์ ใครหนอมี
วิชาสามารถอาจยังคงคาให้กลับไปได้
อำมาตย์จึงทูลว่า มีสตรีนครโสภิณีผู้หนึ่ง กระทำสัจกิริยา คงคาจึงไหลกลับไป ขอพระ
องค์ทราบพระทัยในกาลบัดนี้
สมเด็จพระเจ้าธรรมาโศกราชทรงฟังก็ประหลาดพระทัย จึงมีพระราชโองการให้
หาหญิงนครโสภิณีมาที่หน้าฉาน มีพระราชโองการตรัสถามฉะนี้ว่า โภตี ดูกรเจ้าผู้เจริญ
เจ้ากระทำสัจกิริยาหรือ คงคาจึงไหลกลับไป
นางนครโสภิณีรับพระราชโองการว่า พระพุทธเจ้าข้า คงคานั้นไหลกลับไปด้วยอำนาจ
สัจกิริยาของกระหม่อนฉัน
สมเด็จบรมกษัตริย์มีพระราชโองการตรัสถามว่า เจ้านี้มีกำลังฤทธานุภาพอย่างไร
ใครเข้าจะเชื่อถ้อยคำของเจ้า เจ้าเป็นยักษ์หรือเป็นนาคอย่างไร ที่เจ้าทำกระแสน้ำให้ไหลทวน
กลับไปได้ดังนี้ด้วยอานุภาพอะไร
สตรีภาพผู้นั้นจึงทูลว่า เทว ข้าแต่พระองค์ผู้สมมุติเทวดา พระองค์อย่าทรงพระวิตกคิด
กังขาสงสัย จะเป็นฤทธิเดชอันอื่นหามิได้ คงคานี้ไหลไปด้วยสัจกิริยาแห่งเกล้ากระหม่อมฉัน
สมเด็จพระบรมกษัตริย์มีพระราชโองการตรัสว่า ตัวเจ้านี้เป็นนครโสภิณีหญิงไม่มีสติ-
ปัญญา ธุตฺตี เป็นนักเลงหามารยาทมิได้ มีแต่ว่าจะโลมเล้าคนทั้งหลายให้หลงใหล ไม่มีศีล
จะเอาอะไรเป็นสัจจะ ไหนเจ้าตั้งสัจจะอย่างไร จงว่าให้เราฟังก่อน
นางนครโสภิณีประนมกรชุลีถวายบังคมทูลว่า กระหม่อนฉันตั้งสัจจาธิษฐานว่า
เกล้ากระหม่อมฉันหาเลี้ยงชีวิตด้วยกามคุณประโลมสิ่งเดียว จะได้เลี้ยงชีวิตด้วยการอื่นหามิได้
บุคคลผู้ใดให้ทรัพย์แล้ว กระหม่อมฉันก็พึงสมาคมด้วยผู้นั้น จะได้เลือกหน้าว่ากษัตริย์และ
พราหมณ์พ่อค้าหามิได้ ตั้งใจปรนนิบัติบุรุษผู้ให้ทรัพย์เสมอกัน อันนี้เป็นความจริง ด้วย
สัจวาทีของกระหม่อมฉันนี้ คงคาก็บันดาลไหลทวนไปในกาลนั้น
พระนาคเสนนำเอาเรื่องราวนางนครโสภิณีมาวิสัชนาถวายสมเด็จพระเจ้ามิลินท์สิ้นใจ
ความเท่านี้ แล้วจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร อันบุคคลมีสัจจา-
ธิษฐานแล้วก็จะบันดาลให้สำเร็จความปรารถนา ดุจนัยที่อาตมาถวายวิสัชนามาเป็นตัวอย่าง
ฉะนี้ ซึ่งว่าพระเจ้าสีวิราชให้พระเนตรทั้งสองข้างเป็นทานแก่ยาจก แล้วกลับได้ทิพจักขุคืนดีขึ้น


กว่าเก่าด้วยสัจกิริยา ซึ่งสมเด็จพระพุทธองค์เจ้ามีพระพุทธฎีกาไว้นั้นไม่ผิด ข้อซึ่งพระองค์
โปรดประทานธรรมเทศนาไว้ในพระสูตรว่า บุคคลที่มีตาอันมิได้มีจักขุวัตถุ จักขุประสาท มิ
อาจจะได้ทิพจักขุนั้น ประสงค์เอาทิพจักขุที่ได้ด้วยภาวนาปัญญา ขอบพิตรจงรู้วัตถุทั้งสองนี้
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชหฤทัยโสมนัสตรัสสรรเสริญพระนาคเสน
ผู้วิเศษ ดุจเหตุที่วิสัชนามาแต่หนหลังนั้น
สีวิรัญโญจักขุทานปัญหา คำรบ 5 จบเท่านี้

คัพภาวักกันติปัญหา ที่ 6


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์มีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา
สมเด็จพระมหากรุณามีพระพุทธฎีกาตรัสไว้ว่า ลักษณะแห่งสัตว์ทั้งหลาย คือหญิงชายชาติสัตว์
ดิรัจฉานจะย่างลงสู่ครรภ์ ย่อมมีสันนิบาตประชุมพร้อมทั้ง 3 ประการ คือบิดามารดาพร้อม
เพรียงกันประการ 1 มารดามีระดูประการ 1 สัตว์ลงปฏิสนธิประการ 1 สิริเป็นสันนิบาต 3
ประการฉะนี้ ถ้าว่าหย่อนจากสันนิบาตขาดไปสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้วนั้น สตรีภาพจะมีครรภ์หามิได้
พระพุทธฎีกาตรัสไว้ฉะนี้ เป็นที่มนุษย์นิกรเทพดาจะพึงฟังจำไว้เป็นเยี่ยงอย่างไป ครั้นว่าตรัสไว้
ดังนี้แล้ว มีพระพุทธฎีกาตรัสเทศนาในที่อื่นว่า สันนิบาตมี 2 ประการเล่า เหมือนเจ้าสาม
กระนั้นลงปฏิสนธิในครรภ์นางปาริกาดาบสินี มีแต่สันนิบาตทั้ง 2 เป็นแต่พระทุกุลบัณฑิต
ลูบท้องนางปาริกาผู้มีระดู จะจัดเป็นบิดามารดาพร้อมเพรียงกันนั้นยังไม่ได้ จึงได้แต่สันนิบาต
2 ประการ คือนางปาริกามีระดูประการ 1 พระสามลงปฏิสนธิประการ 1 สิริเป็นสันนิบาต 2
ประการเท่านั้น จะได้มีสันนิบาตเป็น 3 ประการหามิได้ ข้อหนึ่งเล่าใช่แต่เท่านั้นเหมือนอิสีสิงค-
ดาบสนั้น มารดาก็เป็นมฤคี นางเนื้อมากลืนกล้ำกินซึ่งอสุจิของพระฤๅษี อันตกติดอยู่กับเส้น
หญ้านั้นก็มีอยู่นิทาน 1 ใช่แต่เท่านั้น เหมือนมาตังคฤๅษี ลูบลงที่นาภีนางพราหมณ์ด้วยมือ
ขวาเมื่อขณะระดูมีมา ได้บุตรชื่อว่าเจ้ามัณฑัพยมานพนี้เรื่อง 1 ใช่แต่เท่านี้ เหมือนหนึ่งสัง-
กิจจกุมารอันเป็นลูกนางเนื้อ อันกินซึ่งอสุจิแห่งพระกุมารกัสสป อันเป็นบุตรนางภิกขุนี ด้วย
นางภิกขุนีเอาอสุจิพระมหาเถระใส่ลงในกลางกำเนิดนั้น ก็มีปรากฏอยู่นิทาน 1 นี้และจะเชื่อเอา
คำหน้าว่าสันนิบาตมี 3 ประการ คำหลังที่ตรัสว่าสันนิบาต 2 ประการก็จะผิด ถ้าจะเชื่อ